ความรู้เบื้องต้นในการพูด
ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า
หนังสือตรี มีปัญญา ไม่เสียหลาย
ถึงรู้มาก ไม่มีปาก ลำบากตาย
มีอุบาย พูดไม่เป็น เห็นป่วยการ
ถึงเป็นครู รู้วิชา ปัญญามาก
ไม่รู้จัก ใช้ปาก ให้จัดจ้าน
เหมือนเต่าฝัง นั่งซื่อ ฮื้อรำคาญ
วิชาชาญ มากเปล่า ไม่เข้าที
บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง วิวาห์พระสมุทร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากบทพระราชนิพนธ์นี้แล้ว ยังมีข้อคิด คำคม บทประพันธ์ต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่แสดงถึงความสำคัญของการพูด เช่น
- พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
- พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวอัปราชัย
- ก่อนพูด เราเป็นนายของคำพูด หลังจากพูดแล้ว คำพูดเป็นนายของเรา
- จงคิดทุกคำที่พูด แต่อย่าพูดทุกคำที่คิด
สำหรับในชีวิตการทำงาน การพูดที่ดีที่จับใจ ก็จะมีผลต่อความตั้งใจและความสำเร็จของงานเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
กรณีแรก ผู้บังคับบัญชาเรียกผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามาพบเพื่อสั่งงาน โดยใช้ภาษาการพูด ดังนี้
“คุณสมศักดิ์ ผมมีงานสำคัญชิ้นหนึ่งจะให้คุณทำ งานนี้ผมพิจารณาแล้วว่า คุณเป็นคนที่มีความสามารถ ผมชื่อว่าคุณทำได้ เอางานนี้ไปทำและมาส่งผมอาทิตย์หน้านะ”
กรณีที่สอง เหตุการณ์เหมือนเดิมทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนวิธีพูดเท่านั้น
“คุณสมศักดิ์ ผมมีงานสำคัญชิ้นหนึ่งจะให้คุณทำ ผมไม่มั่นใจเลยว่าคุณจะทำได้สำเร็จ เพราะที่ผ่านมาคุณทำงานผิดๆพลาดๆมาเยอะ แต่คนอื่นไม่มีใครว่างเลย คุณเอาไปลองทำมาแล้วกัน เผื่อว่าจะพอใช้ได้ อาทิตย์หน้าเอางานมาส่งผมนะ”
ทั้งสองกรณีนี้ คงจะทำให้เห็นได้ว่า การพูดนั้นมีความสำคัญ เพราะแม้ว่าจะมีเป้าหมายเดียวกัน แต่ด้วยวิธีพูดที่ต่างกันก็เพียงพอที่จะคาดคะเนได้ว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างมหาศาลเลยทีเดียว
ความสำคัญของการพูด
การพูดเป็นการสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูง ทุกคน ทุกอาชีพ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การพูดด้วยกันทั้งนั้น
ในทางพุทธศาสนา ได้จัดการพูดดีไว้เป็นมงคลชีวิต มงคลหนึ่งใน 38 มงคล คือ มงคลที่ 10 “สุภาสิตา อยา วาจา” หมาถึง การมีวาจาสุภาษิต เป็นมงคลชีวิต
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ชี้ถึงความสำคัญของการพูดไว้ในเรื่อง “การพูดสมบัติพิเศษของมนุษย์” ดังนี้
“ในการเสนอแผนการหรือนโยบายนั้น บุคคลผู้เสนอจะต้องอาศัยปากอันเป็นเอก หรือการพูดที่ดีเป็นสำคัญ หากพูดดีแล้วก็ย่อมได้รับการสนับสนุนร่วมมือโดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากว่าพูดไม่ดี เป็นต้นวาขาดการใช้ถ้อยคำที่สละสลวยถูกต้อง หรือขาดสำนวนโวหารอันควรฟัง ลำดับเหตุผลไม่ถูกต้อง ไม่รู้จิตวิทยาชุมชน หรือ ลุแก่โทสะ โมหะ อย่างใดอย่างหนึ่งในระหว่างที่พูดแล้ว แผนการหรือนโยบายที่ตั้งในจะเสนอนั้น ก็จะล้มเหลวเสียตั้งแต่แรก เพราะขาดผู้สนใจ ขาดผู้สนับสนุน ประโยชน์ที่ควรจะเกิดก็ไม่เกิดขึ้น”
วัตถุประสงค์ในการพูด
1. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2. เพื่อสร้างความเข้าใจ
3. เพื่อให้เกิดความเชื่อ เห็นคล้อยตาม
4. เพื่อให้กระทำตามที่ต้องการ
5. เพื่อบรรยากาศที่ดี
โอกาสในการพูด
1. การพูดต่อที่ชุมชน
2. การพูดปราศรัยในงานต่างๆ
3. การสอน การบรรยาย
4. การนำเสนอ
5. การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที
6. การพูดจูงใจ
7. การประชุม
แบบในการพูด
- ท่องจำ
- อ่านจากร่าง
- พูดตามหัวข้อ
- พูดโดยไม่เตรียมตัว (พูดในสถานการณ์เฉพาะหน้า)
องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1. ผู้พูด
ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ดังนี้
- บุคลิกลักษณะ
- การเตรียมตัว
2. เนื้อหา
ประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญคือ
- การรวบรวมข้อมูล
- การสร้างโครงเรื่อง
- การใช้ถ้อยคำภาษา
- การใช้สื่อ
- การทดสอบความพร้อม
3. ผู้ฟัง
- วิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อเตรียมตัวพูด
บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1. รูปร่างหน้าตา
การดูแลรูปร่างหน้าตาให้ดูดี จะช่วยสร้างความพอใจและความยอมรับจากผู้ฟังหรืออย่าง
น้อยก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านจากผู้ฟัง จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่ควรละเลย
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา คือ
- ความสะอาด
- ความเรียบร้อย
- การจัดให้ดูดี
2. การแต่งกาย
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ยังคงใช้ได้ สำหรับการเป็นผู้พูดที่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะการแต่งกายที่ดี จะนำมาซึ่งความพอใจและความเชื่อถือของผู้ฟัง
การแต่งกายที่ดี ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
- รูปร่าง
- วัย
- โอกาส
- เวลา
- สถานที่
- การตกแต่งประดับประดาที่พอดี
- การสำรวจตรวจสอบความเรียบร้อย
- ความสุภาพ
3. น้ำเสียง
ผู้พูดต้องพูดเสียไม่เบา หรือดังเกินไป โดยคำนึงถึงสถานที่และ จำนวนผู้ฟัง รู้จักใช้เสียง
หนัก เบา มีท่วงทีลีลาและจังหวะในการพูด มีการเน้นย้ำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เพื่อการกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา
4. สีหน้า
ผู้พูดต้องแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด พูดเรื่องเศร้าสีหน้าต้องเศร้า โกรธ สี
หน้าต้องโกรธ พูดจริง หน้าตาต้องจริงจัง พูดเล่น หน้าตา (น้ำเสียงด้วย) ก็ต้องให้ผู้ฟังรู้ว่าพูดเล่น ฯลฯ ผู้ฟังจะคล้อยตามผู้พูดเมื่อสีหน้าผู้พูดแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
5. สายตา
ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ ใจของผู้พูดเป็นอย่างไร ตาก็เป็นอย่างนั้น ผู้พูดต้องสบตา
ผู้ฟัง เพื่อให้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดกับผู้ฟัง
6. ท่าทาง
ผู้พูดต้องพูดจากใจ มีความจริงใจ พูดจากความรู้สึกจริงๆ ท่าทางก็ออกไปโดยอัตโนมัติ
อย่างไปกำหนดท่าทางว่า พูดอย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ต้องแสดงท่าทางอย่างนี้อย่างนั้น จะทำให้การพูดสะดุดไม่เป็นธรรมชาติ แต่พึงระวัง ในระหว่างที่กำลังพูดอย่าล้วง แคะ แกะ เกา จะทำให้ผู้ฟังไปสนใจกิริยาท่าทางดังกล่าว
7. ความเชื่อมั่น
ผู้พูดที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะแสดงความประหม่าให้ผู้ฟังเห็น นอกจากการพูดจะ
ไม่คล่องแล้ว ความประทับใจของผู้ฟังก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้พูดต้องแสดงความเชื่อมั่นให้กับตนเอง คือ ต้องศึกษาหลักการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง เตรียมเนื้อหาและฝึกซ้อมจนพูดได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ ปราศจากความประหม่า
8. ความกระตือรือร้น
ผู้พูดที่ดีต้องพูดอย่างมีชีวิตชีวา ไม่เนือย ไม่เฉื่อย เพราะทฤษฎีของการพูดมีอยู่ว่า “ผู้พูด
ต้องเป็นผู้กำหนดท่าทีของผู้ฟัง” นั่นหมายความว่า หากผู้พูดพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังจะ สนใจและกระตือรือร้นในการฟัง
9. อารมณ์ขัน
ผู้ฟังทุกคนต้องการหาความรู้ ต้อการฟังเรื่องที่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการความ
สนุกสนานด้วย หากผู้พูดมีอารมณ์ขัน และใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม กับเรื่องกับโอกาสแล้ว จะประสบความสำเร็จในการพูดเป็นอย่างยิ่ง ผู้ฟังจะพอใจและประทับใจและมีอารมณ์ร่วมตลอดเวลา อารมณ์ขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีอารมณ์แจ่มใส มองคนมองโลกในแง่ดี สะสมตัวอย่างตลกขำขัน ไว้มากมายสามารถจะดึงมาให้ได้อย่างไม่หมดสิ้น
10. ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น การฝึกฝนให้มีปฏิภาณไหวพริบ จะช่วยคลี่คลาย
สถานการณ์ ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี หรือผ่อนคลายจากหนักเป็นเบาลงได้
การเตรียมตัวในการพูด
ปัจจัยสำคัญของนักพูดที่ประสบความสำเร็จก็คือ การเตรียมตัว การเตรียมตัวเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ผู้พูดพึงตระหนักและเข้าใจอย่างถ่องแท้ มักจะเคยเห็นกันอยู่เสมอว่านักพูดบางคนเตรียมตัวมาแล้ว แต่เมื่อขึ้นเวทีพูด ก็ยังเกิดความผิดพลาดและความล้มเหลวอยู่ดี ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเตรียมนั้นยังไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง
ในการเตรียมการพูด ขอให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1. ผู้พูดเป็นใคร ?
หมายถึง การวิเคราะห์ตัวผู้พูด 2 ประการ ดังนี้
2. พูดกับใคร ?
หมายถึง การวิเคราะห์ผู้ฟัง ดังคำกล่าวที่ว่า
3. พูดอะไร ?
ผู้พูดต้องทราบถึงรายละเอียดของการพูดอย่างชัดเจน
4. พูดเมื่อไร ?
การวิเคราะห์โอกาสและเวลาในการพูดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ความล้มเหลวในการพูดอาจ
มีสาเหตุมาจากโอกาสและเวลาของการพูดไม่เหมาะสมก็ได้
5. พูดที่ไหน ?
ผู้พูดพึงรู้จัก และทำความคุ้นเคยกับสถานที่ที่จะพูด
6. พูดอย่างไร ?
เมื่อทราบถึงหัวข้อการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง ทราบเวลาและสถานที่พูดเรียบร้อยแล้ว ผู้พูดพึงตัดสินใจ
ว่าจะพูดไปในแนวอย่างไร
วัตถุประสงค์การพูดที่สำคัญมี 4 ประการคือ
การสร้างโครงเรื่อง
อาคารบ้านเรือนที่มั่นคงสวยงามย่อมต้องมีโครงสร้างที่ดีฉันใด การพูดที่ดีที่จับใจทำให้คนสนใจฟังได้อย่างต่อเนื่องก็ย่อมต้องมีโครงเรื่องที่ดีฉันนั้น
โครงเรื่องที่ดีในการพูด ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. คำนำหรือคำขึ้นต้น
2. เนื้อเรื่อง
3. สรุปจบ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ หากทำได้อย่างเหมาะสม จะทำให้คนสนใจได้อย่างแน่นอน
วิธีการขึ้นต้นที่สัมฤทธิ์ผล
วิธีการขึ้นต้นต่อไปนี้เป็นวิธีการที่สัมฤทธิ์ผล สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้ในทันที ผู้พูดอาจเลือกวิธีหนึ่งในการขึ้นต้นตามความเหมาะสม
1. พาดหัวข่าว
การพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ ฯลฯ ด้วยประโยค หรือ ถ้อยคำที่น่าสนใจ
ติดตาม ผู้อ่านจะมีความรู้สึก และอยากอ่านข่าวรายละเอียดนั้นทันที การพูดก็เช่นกัน การประยุกต์วิธีการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์มาใช้ ย่อมทำให้ผู้ฟังอยากฟังต่อว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร เช่น
2. กล่าวคำถาม
การตั้งคำถามในการเริ่มต้นการพูดจะดึงความสนใจจากผู้ฟังได้ ผู้ฟังอาจนึกตอบคำถามไป
ด้วยในใจ
3. ทำให้เกิดความสงสัย
วิธีการทำให้เกิดความสงสัยนี้ต่างจากวิธีการตอบคำถาม เพราะการขึ้นต้นแบบนี้ไม่เป็น
คำถาม
4. ทำให้มีความสนุกสนาน
การขึ้นต้นโดยทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ขันสนุกสนานได้ ย่อมสร้างความสนใจให้ผู้ฟัง ได้
อย่างมาก แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและเสี่ยงพอสมควร ผู้พูดต้องใช้ศิลปะในการสร้างอารมณ์ขัน ประกอบด้วยจึงจะได้ผล
เนื้อเรื่อง
เมื่อเริ่มต้นเรื่องได้ดีสร้างความสนใจให้กับผู้ฟังแล้ว การดำเนินเรื่องต้องให้มีความผสมกลมกลืนกับคำขึ้นต้น บางคนเริ่มต้นดีแต่พอถึงเนื้อเรื่อง กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ทั้งนี้ เพราะขาดวิธีการในการดำเนินเรื่องนั่นเอง การดำเนินเรื่องที่ถูกต้อง คือ
1. ดำเนินเรื่องไปตามลำดับ
2. จับอยู่ในประเด็น
3. เน้นจุดมุ่งหมาย
4. ใช้ตัวอย่างประกอบตามเรื่องราว
5. เร่งเร้าความสนใจ
สรุปจบ
เมื่อขึ้นต้นดี ดำเนินเรื่องได้อย่างกลมกลืน การสรุปจบก็ต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังเป็นการปิดท้าย ผู้พูดบางคนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการสรุป เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ม้าตีนต้น” คือดีหรือเก่งเฉพาะในตอนเริ่มเท่านั้น แต่ตอนท้ายกลับได้ไม่ดีคล้าย “ตกม้าตายตอนจบ” ผู้พูดต้องนึกไว้เสมอว่า ผู้ฟังจะประทับใจให้คะแนนผู้พูดมากหรือน้อยอยู่ที่ตอนสรุปจบด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น